คุณสมบัติของอะคริลิค
- สามารถดัดเป็นรูปต่างๆได้ตามต้องการด้วยความร้อน
- มีน้ำหนักเบา โดยมีน้ำหนักเพียงครึ่งหนึ่งของน้ำหนักแผ่นกระจกขนาดเดียวกัน
- สามารถต้านแรงกระแทกได้มากกว่ากระจกถึง 15 เท่า
- ไม่ทำปฏิกิริยากับสารละลายเกลือ น้ำมัน น้ำมันเชื้อเพลิง เช่น ก๊าซโซลีน สารเคมีและด่าง
- เป็นฉนวนกันความร้อนและกันไฟฟ้าได้ อีกทั้งไม่เป็นตัวนำความร้อน
- นำมาเลื่อย ตะไบ เจาะรู หรือเข้าเครื่องตัดเป็นรูปต่างๆ ได้ตามต้องการ นอกจากนี้ยังสามารถใช้ซิลค์สกรีน
- สลักลงบนแผ่นอะคริลิคหรือนำมาเชื่อมต่อกันได้
อะคริลิคนำไปใช้อะไรได้บ้าง?
- ใช้ทำฝาครอบเครื่องจักร ฝาครอบโมเดล หุ่นจำลอง
- ใช้เป็นวัตถุดิบในการผลิตเครื่องใช้สำหรับงานตกแต่งภายใน เช่น ทำโต๊ะ เก้าอี้ ตู้วางสินค้า ชั้นโชว์สินค้า โป๊ะไฟ เครื่องสุขภัณฑ์ต่างๆ ผนังกั้นห้อง ฯลฯ
- ใช้ทำหลังคารูปโดม หลังคาโปร่งแสง ฯลฯ
- ใช้ทำแผ่นป้ายโฆษณา ส่วนประกอบตู้โทรศัพท์สาธารณะ แผงกั้นเคาน์เตอร์ ตู้ ATM ฯลฯ
- ใช้ทำทำตู้ปลา ตู้โชว์สินค้า ไม้บรรทัด กรอบรูป กล่องใส่โบว์ชัวร์ ป้ายสอดเมนูอาการ พวงกุญแจ ของชำร่วย ฯลฯ
- ใช้ทำชุดแต่งรถยนต์ เช่น กันสาด กันแมลง ตกแต่งเครื่องเสียงรถยนต์ หน้ากากหมวกกันน็อก ที่บังลมรถมอเตอร์ไซด์
- ใช้ทำเครื่องใช้ไฟฟ้า เครื่องมือการแพทย์ ฯลฯ
กระบวนการผลิต ของ Acrylic ใน 2 ระบบ แตกต่างกันในแง่ของวัตถุดิบที่ใช้ในการผลิต โดยในระบบ Casting จะใช้น้ำยา MMA เป็นวัตถุดิบในการผลิต ส่วนในระบบ Extrusion ใช้เม็ด PMMA ในการผลิต สำหรับคุณสมบัติจะใกล้เคียงกัน เนื่องจากมีวัตถุดิบเบื้องต้นชนิดเดียวกัน เพียงแต่เมื่อผ่าน process ที่แตกต่างกันจึงทำให้มีข้อจำกัดการใช้งานต่างกันซึ่ง ขึ้นอยู่กับการนำไปใช้งานในลักษณะต่างๆด้วย วิธีการพับแผ่นอะคริลิคเป็นมุมต่างๆ คือนำแผ่นอะคริลิคไปให้ความร้อนตามแนวเส้นลวดความร้อน เมื่ออะคริลิคนิ่มตัว จึงทำการพับให้ได้มุมตามที่ต้องการ จากที่เรารู้จักในเรื่องของคุณสมบัติและการนำไปใช้งานนั้น เราสามารถเลือกวัสดุให้ตรงกับสินค้าของลูกค้า ตรงกับลักษณะของการทำงานนั้นเอง